Music Maker - A Living Past
แผ่นไรท์+ข้อมูล แผ่นสกรีน พร้อมปกสี หน้า-หลัง ไม่มีกล่อง (เพิ่มกล่องเปล่าใบละ10บาท)
CLONE Original from Master 100%
ไม่ขายแผ่นไรท์เปล่า ๆ ขาว ๆ นวล ๆ ติดสติกเกอร์ หรือใช้ปากกาสี เขียนบนแผ่น
อีกหนึ่งทางเลือก > อยากได้เพลงของใคร แผ่นไหน ชุดไหนทั้งไทยและเทศ สากล เก่าใหม่
แผ่นแท้หาซื้อที่ไหนไม่ได้แล้ว มือสองก็ราคาไปไกลเกินเอื้อม ค้นหาสินค้าในร้านไม่เห็น
สอบถามเพิ่มเติม ฝากข้อความได้
(ไม่สะดวกรับ orderทางโทรศัพท์)
097-457-6471 id Line sabaycd
088-555-2703 id Line sabuycd
ขอขอบคุณสำหรับการเลือกซื้อสินค้าที่ สะบายซีดี
01 I Came So Far, Guitar Gabriel / Music Maker
02 Expressing the Blues, Guitar Gabriel / Music Maker
03 Careless Love, Preston Fulp / Music Maker
04 Farther Along, Preston Fulp / Music Maker
05 Angels of Mercury, Captain Luke / Music Maker
06 Little Girl Blues, Big Boy Henry / Music Maker
07 Hot Shot Momma, Big Boy Henry / Music Maker
08 Peter Rumpkin, Willa Mae Buckner / Music Maker
09 Yo-Yo, Willa Mae Buckner / Music Maker
10 Lets Talk it Over, Macavine Hayes / Music Maker
11 I Got A Woman, Macavine Hayes / Music Maker
12 Railroadin' and Gamblin', Samuel Turner Stevens / Music Maker
13 Do You Konw it Means to Have a Friends?, Gabriel & Lindsey / Music Maker
14 Freight Train Boogie, Captain Luke / Music Maker
15 Kingfish Story, Captain Luke / Music Maker
16 Dog and Cat Fight, Captain Luke / Music Maker
17 A Living Past, Guitar Gabriel / Music Maker
นักเล่นเครื่องเสียงน้อยคนนัก ที่ไม่คุ้นหูกับชื่อของ มาร์ค เลวินสัน (Mark Levinson) เพราะชื่อนี้ได้สร้างความเป็น “อภิมหาอมตะนิรันดร์กาล” เอาไว้ในวงการเครื่องเสียงบ้านมากมาย...เขาเป็นผู้ก่อตั้งเครื่องเสียงบ้านระดับ “อภิมหาไฮ-เอนด์” โดยเอาชื่อของตัวเองคือ Mark Levinson มาการันตีตั้งเป็นชื่อยี่ห้อ ปรากฏว่าดังขจรขจายทะลายวงการ เป็นเครื่องเสียงระดับ “อภิมหา” ทั้งราคาและคุณภาพ ถึงแม้ว่าในเวลาต่อมาเขาจะโบกอำลาซาโยนาระจาก Mark Levinson ไปได้นายทุนเงินหนา โยนถุงเงินมาให้ทำแบรนด์ใหม่ และในอีกมุมหนึ่งเครื่องเสียงบ้านแบรนด์ Mark Levinson จะถูก Harman International เข้ามาเทคโอเวอร์ไปก็ตาม แต่ด้วยชื่อเสียงเรียงนามของแบรนด์ Mark Levinson ที่สร้างสมมาเนิ่นนานบานตะไท ก็ส่งให้ Mark Levinson ก็ยังเป็นที่นิยมชมเปาะของออดิโอไฟล์มาจนถึงทุกวันนี้ แม้ว่าตัวจริง-เสียงจริงอย่างนายมาร์ค เลวินสัน ไม่ได้มีเอี่ยวและส่วนเกี่ยวข้องแล้วก็ตาม
หลังเลิกราจาก Mark Levinson พ่อยอดชายนายมาร์คของเรา ก็ออกมาทำแบรนด์เนมใหม่ โดยใช้ชื่อว่า Cello...จะด้วยความแค้นฝังหุ่นหรืออะไรก็ตามแต่ นายมาร์คบรรจงลงมือออกแบบแบรนด์ใหม่ชนิดสุดลิ่มทิ่มดาก ปรากฏว่า Cello ดังระเบิดเถิดเทิงกว่า Mark Levinson แบรนด์เก่าเป็นไหนๆ และทุกอย่างน่าจะแฮปปี้เอนดิ้งจบลงด้วยดี แต่ด้วยเพราะทำแต่ระดับไฮ-เอนด์มานาน นายมาร์ค เลวินสัน ก็อยากทำอะไรที่อยู่ในระดับสามัญประจำบ้านดูบ้าง แต่โปรเจ็คท์นี้ไม่เป็นที่ถูกโฉลกของนายทุน ที่จะถูกจะแพงก็ขอให้แดงไว้ก่อน...เมื่อความเห็นเดินเป็นเส้นขนาน ไม่มีวันบรรจบพบกันได้ นายมาร์ค เลวิสัน ก็เปิดหมวกอำลาเป็นคราที่สอง และคราวนี้แยกวงออกมาเป็น “ศิลปินเดี่ยว” ไม่ขอเอี่ยวกับใคร ควักเงินของตัวเองออกมาทำแบรนด์ใหม่ชื่อ Red Rose Music สบายใจเฉิบไปเลย! และก็ได้ทำเพลงออกมาสนับสนุนสินค้าของตัวเอง และก็ฮือฮากันตามระเบียบ เพราะยี่ห้อมาร์ค เลวินสันแล้ว จะทำอะไรออกมาก็ต้องไชโย...ไชโย...ลีโอสามขวดกันก่อนว่า...เจ๋ง!
สำหรับ A Living Past : Music Maker Patron’s Sampler เป็นแผ่นซีดีการกุศลที่มาร์ค เลวินสัน ทำขึ้นมาในยุคที่รุ่งเรืองเฟื่องฟูอยู่กับ Cello...ที่ว่าเป็นแผ่นการกุศลก็เนื่องจากว่า ทำขึ้นมาเพื่อหารายได้ช่วยเหลือศิลปินเพลงบลูส์ระดับ “พ่อเพลง-แม่เพลง” หลายๆคนที่กำลังจะเหลือไว้แค่ “ตำนาน” เพราะหลายคนอยู่ในช่วงบั้นปลายของชีวิต และใช้ชีวิตอย่างลำบากยากไร้ บางคนนอนรักษาอย่างอนาถาอยู่บนเตียงคนไข้ของโรงพยาบาล และบางคนอยู่อย่างสิ้นไร้ไม้ตอกขาดคนดูแล...ด้วยกลัวว่า “ตำนานบลูส์” เหล่านี้จะสูญหายไปโดยไม่มีอะไรเหลือไว้ให้นึกถึง นายมาร์ค เลวินสัน ก็เลยทำซีดีชุดนี้ขึ้นมาด้วยประการฉะนี้แล!
เนื่องจากเป็นแผ่นการกุศล ที่ไม่ต้องวัดครึ่งหนึ่ง-กรรมการครึ่งหนึ่ง แผ่นนี้พอตกมาถึงเมืองไทย โดย “เสี่ยเปา” แห่งเอกซ์เซลล์ ไฮ-ไฟ สั่งเข้ามา จึงมีราคาที่แทบช็อค...พระเจ้าช่วยจ๊อดด้วยเถิด! ราคามันแพงโคตรถึง 2,500 บาท...คิดดูเถอะในสมัยนั้นแผ่นซีดีธรรมดาราคา 320 บาท ถ้าเป็นประเภทออดิโอไฟล์ก็แค่ 500 กว่าๆ แต่นี่ปาไปถึง 2,500! แต่ก็แปลกแฮะ!ที่ขายดีมีเรตติ้งที่สูงเอาเรื่อง...เหตุผลสำคัญที่ทำให้แผ่นนี้ขายดีเหมือนไล่แจก ก็น่าจะมาจากชื่อของนายมาร์ค เลวินสัน ที่รับประกันได้ในทุกกรณี และอีกประการหนึ่งเครื่องไม้เครื่องมือในการบันทึกเสียง และทำมาสเตอร์จะเป็นของ Cello ทั้งหมด...แค่นี้ไม่ต้องจ้างเปิดเพลงละพัน วันละเพลง ก็ดังระเบิดระเบ้อก่อนออกวางจำหน่ายด้วยซ้ำไป
ใน Living Past : Music Maker Patron’s Sampler มีอยู่ทั้งหมด 17 เพลง เป็นเพลงร้อง 13 เพลง ส่วน 4 แทรคที่เหลือจะเป็นการบอกกล่าวถึงเรื่องราวต่างๆ...เพลงที่บันทึกส่วนใหญ่จะเป็นเพลงบลูส์ระดับ “คลาสสิค” ที่ต้นฉบับออริจินัลเดิมๆได้สูญหายไปตามกาลเวลา เมื่อนายมาร์ค เลวินสันนำมาปัดฝุ่นเจียระไนกันใหม่ ก็ยังใช้คนร้องเดิมๆ และวางรูปแบบของดนตรีไว้ในบรรยากาศเดิมๆเช่นกัน คือจะมีเสียงร้องกับเสียงกีตาร์โปร่งเป็นหลัก จะมีเสียงเปียโนเข้ามาประกอบอยู่ 2-3 เพลง...จังหวะและลีลาของเพลงจะไปแบบเรื่อยๆ และจะเป็นแบบ Pure Blues เหมือนกันหมด หากทั้งชีวิตจิตใจไม่ใช่สาวกของเพลงบลูส์แล้ว อาจจะฟังกันได้ไม่นาน พาลจะอึดอัดเอาดื้อๆ เพราะเสียงร้องและดนตรีจะมาในทางเดียวกันหด คือเสียงร้องจะเป็นแบบแผดเสียงและโหนเสียง บางทีก็บ่นงึมๆงัมๆ ฟังไม่ได้ศัพท์แต่ต้องจับมากระเดียด ในส่วนของภาคดนตรีก็หม่นๆทึมๆ แทบจะไม่มีเพลงหนึ่งเพลงใดที่แตกต่างออกไป แต่กับความแตกต่างของอารมณ์ และทักษะในการร้องและการเล่นของแต่ละคน ก็พอที่จะช่วยลดดีกรีของ “ความเหมือน” ให้เจือจางและบางเบาลงได้บ้าง...เหมือนกับซดน้ำแกงจืดนั่นล่ะครับ เพียงแต่เป็นแกงจืดที่เลือกใช้ของดีๆ ถูกปรุงด้วยกุ๊กมือเทวดา จากเหลาเลิศหรู และบรรจงเทแกงจืดลงในชามเบญจรงค์ ใส่ถาดทองมาน้อมองค์บรรจงเสิร์ฟให้เรากินนั่นล่ะครับ
ถึงแม้ว่าลีลาของเพลงจะเฉื่อยๆดูทึมๆไปบ้าง แต่มีอย่างหนึ่งที่แผ่นนี้ทำออกมาได้ดีมาก นั่นคือการบันทึกเสียงที่เก็บ “บรรยากาศ” มาได้โดยมิให้ขาดตกหกหล่นแม้แต่น้อย...ขั้นตอนของการผลิตมันยุ่งยากลำบากตั้งแต่เริ่มทำ “เดโม” กันแล้ว เพราะศิลปินแต่ละคนที่ถูกกำหนดเอาไว้ ล้วนแล้วแต่เป็นไม้ที่ห่างจากฝั่งไม่ถึงศอกไม่ถึงเมตรกันทั้งนั้น หลายคนเจ็บกระเสาะกระแสะอยู่ที่บ้าน และบางคนก็นอนรักษาตัวอยู่บนเตียงคนไข้ในโรงพยาบาล ไม่มีเรี่ยวแรงที่จะลุกเหิรเดินไปไหน จำเป็นต้องขนเครื่องไม้เครื่องมือมาบันทึกเสียงกันถึงบ้าน รวมทั้งบันทึกเสียงกันบนเตียงของคนไข้ในโรงพยาบาล...โดยเฉพาะในโรงพยาบาลที่มีปัญหานานาสารพัน เป็นต้นว่าความจำกัดของห้องที่ไม่ค่อยเอื้ออำนวยต่อการทำงานมากนัก อีกทั้งตัวศิลปินเองก็ใช่ว่าจะสมบูรณ์พูลสุขดีนัก อาการกระเสาะกระแสะก็ยังมีอยู่ เพราะหลายเพลงที่บันทึกเสียงอยู่นั้น จะมีเสียงไอค็อกๆ แค็กๆ และเสียงหอบเหนื่อยของศิลปิน “ไม้ใกล้ฝั่ง” เหล่านี้ มีให้ได้ยินกันเป็นช่วงๆ หรือเสียงของไมโครโฟนตกหล่นอยู่หนสองหน แผ่นนี้ก็เก็บตกบรรยากาศเหล่านั้นมาได้จนหมด
การบันทึกเสียงทำออกมาได้ดีมาก(มาร์ค เลวินสัน รับประกันอีกแล้วครับท่าน) เนื้อเสียงอิ่มข้น แต่ความถี่เสียงจะเกาะกลุ่มอยู่ในย่านกลางเกือบทั้งหมด โดยเฉพาะย่านกลางต่ำไปจนถึงย่านกลางสูง เสียงในย่านต่ำและสูงไปกว่านี้ ไม่มีมากนัก เสียงโดยรวมจะออกมาในโทนเดียวกันหมด เพราะในแต่ละเพลงจะมีเพียงเสียงร้องกับเสียงชิ้นดนตรีคือกีตาร์เพียงชิ้นเดียว จะมีเปียโนและแบนโจเข้ามาแจมบ้าง ก็แค่ 2-3 เพลง...นอกจากเนื้อเสียงที่อิ่มข้นแล้ว เกรนเสียงจะเนียนและสะอาด บันทึกเสียงออกมาดี ไม่มีอาการวูบวาบและแกว่งของน้ำเสียง แต่ถ้าเป็นอาการแกว่ง, วูบวาบ ลุ่มๆดอนๆ เป็น-ตาย 50/50 เท่ากันของนักร้องรวมชรา(เหมือนรัฐบาลชุดนี้เป๊ะเลย) ที่เกิดจากการพ่ายแพ้สังขารของตัวเองแล้วละก็...มีให้เห็นกันเพียบเลย! ตรงนี้แหละที่ถือเป็นบรรยากาศที่พอจะกลบเกลื่อน “ความเหมือน” ของเพลงลงไปได้บ้าง
หลายๆเพลงในอัลบั้มชุดนี้ ให้ความรู้สึกและอารมณ์ของบลูส์ที่ชวนน่าติดตาม อย่างเช่นเพลง Careless Love เสียงร้องของ Preston Fulp ในวัยเกือบ 80 ที่บันทึกกันบนเตียงคนไข้ในโรงพยาบาล เสียงข้อง Preston Fulp แหบแห้ง โหนเสียงสูงไปไม่ถึง มีอาการหอบเหนื่อยและกระแอมไอแทรกอยู่ตลอดเวลา รวมทั้งเสียงไมโครโฟนตกหล่นอยู่ 2-3 หน ตรงจุดนี้แหละ ที่ให้บรรยากาศ อารมณ์ และความรู้สึกที่ดีมาก
แทรคที่ 13 เพลง Do You Know What it Meanes to Have a Friend เสียงร้องของ Guitar Gabriel และ Lucille Lindsey ก็ให้อารมณ์และความรู้สึกที่ชวนติดตามเช่นกัน ถึงแม้ว่าในภาคของดนตรีจะมีแค่กีตาร์เดินคอร์ดง่ายๆเพียงตัวเดียว ไม่สลับซับซ้อนอะไร แต่การนำเสนอทางด้านเสียงร้อง โดยเฉพาะเสียงร้องของ Lucille Lindsey ที่ทอดเอื้อนเสียงอ่างเศร้าสร้อย ก็สามารถถ่ายทอดความหมายของเพลงได้อย่างลึกซึ้งเต็มอารมณ์...อีกคนหนึ่งคือ Willa Mae Buckner ซึ่งเป็นนักร้องระดับคุณย่า-คุณยายอีกคนหนึ่ง เธอร้องเพลงได้ถึงอารมณ์มาก แม้ว่าอายุอานามจะปาเข้าไป 80 กว่าๆแล้วก็ตาม แต่ก็ยังหลงเหลือพลังของการแผดเสียง และการทอดเอื้อนอย่างโหยหวน
เป็นแผ่นที่เก็บ “อารมณ์” ของคนร้อง และเก็บ “บรรยากาศ” ในระหว่างการบันทึกเสียงมาไว้ได้หมด ในปัจจุบันเป็นแผ่นที่หายากมากอีกแผ่นหนึ่ง ไม่แน่ใจว่าแผ่นของเมืองจีนจะทำอัลบั้มชุดนี้ออกมาหรือเปล่า...ยังไงๆก็ขวนขวายกันนิด ไม่ได้แผ่นจริง แผ่น “ไรท์” ก็ยังดี! น่าเก็บครับ เพราะมันเป็นอีกตำนานหนึ่งของเพลงบลูส์
|